เวทย์ นุชเจริญ
ดูบทความทั้งหมด
เวทย์ นุชเจริญ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บมจ ธนาคารกรุงไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ SME และธุรกิจรายย่อย
141
ผู้ประกอบการไทย ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก เมื่อปัญหาโควิดเครื่องบินหยุดบิน การส่งออกก็ทำไม่ได้ เพราะส่งออกกล้วยไม้ต้องขนส่งด้วยเครื่องบิน
ตลาดกล้วยไม้โลก มีมูลค่าประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้เขตร้อน ผู้ส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม จีน และอินเดีย คิดเป็นร้อยละ 68.28 ของการส่งออกรวม ไทยเป็นผู้ส่งออกดอกกล้วยไม้อันดับ 1 ของโลกเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ส่งออกต้นกล้วยไม้เป็นอันดับ 1 ของโลก กล้วยไม้ถือเป็นส่วนหนึ่งในสินค้าที่เป็นสัญลักษณ์ของไทย พันธ์ที่ส่งออกหลัก ได้แก่ สกุลหวายอะแรนด้า อะแรคนิส ออนซ์เดียมีและแวนด้า ผลผลิตกล้วยไม้ไทย เป็นผลิตเพื่อส่งออกประมาณ 53% ผลิตเพื่อใช้
ในประเทศ 47% ปัจจุบันมีผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทยประมาณ 200 ราย และเกษตรผู้ปลูกกล้วยไม้ประมาณ 2,000 ราย. แหล่งผลิต 5 อันดับแรก ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร กรุงเทพ ราชบุรี และนนทบุรี ช่วงที่มีผลิตสูง คือเดือนมิถุนายน และตุลาคม คู่ค้าดอกกล้วยไม้ที่สำคัญ ได้แก่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เวียดนาม จีน และอิตาลี ต้นกล้วยไม้ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ บราซิล อินเดีย เยอรมันนี และญี่ปุ่น
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ผ่านมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ได้ส่งผลกระทบต่อกาส่งออกสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมองการส่งออกกล้วยไม้แล้ว ประเทศไทยนับเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทยเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่สถานการณ์ไวรัสโควิด 19 ที่เกิดขึ้นจนมาถึงการระบาดระลอก 2 ได้กระทบต่อโลจิสติกส์ ในการขนส่งสินค้าเข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้ผู้นำเข้าหลัก ได้แก่ จีน อิตาลี สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่นระงับการนำเข้า ทำให้การส่งออกชะลอตัวและหยุดชะงักลง โดยช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 มีปริมาณการส่งออกดอกกล้วยไม้ 7,455 ตัน มูลค่า 670.71 ล้านบาท ซึ่งปริมาณการส่งออกและมูลค่าการส่งออก ลดลงจากปี 2562 ในช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 34 และ 40 ตามลำดับ ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงเป็น 1.43 บาทต่อช่อ ราคาลดลงมากกว่า 50%
นายเจตน์ มีญานเยี่ยม อุปนายกสมาคมผู้่งออกดอกกล้วยไม้ไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจการส่งออกดอกกล้วยไม้ไทยรวมถึงเกษตรกรผู้ผลิต ผู้เกี่ยวข้องในวงจรธุรกิจกล้วยไม้เริ่มอ่อนกำลัง ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถแบกรับภาระหนี้ได้ หากแนวโน้มการส่งออกไม่ดีขึ้น มูลค่าการส่งออกกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี จะต้องติดลบ ขณะนี้ ผู้ประกอบการสวนหนึ่ง เริ่มปรับปรุงธุรกิจจากสวนกล้วยไม้เป็นร้านอาหารและแหล่งท่องเที่ยวมีประมาณ 10 ราย ทิ้งกิจการเนื่องจากไม่สามารถแบกรับต้นทุนทั้งแรงงานและการดูแลกล้วยไม้ทุกวันได้ ทุกวันนี้ดอกกล้วยไม้ที่ออกทั้งหมด ต้องตัดทิ้งอย่างเดียว เพราะทุกอย่างหยุดหมด
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรงค์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า แนวทางที่กรมทำได้คือสนับสนุนตลาดกล้วยไม้ในประเทศให้มากที่สุด โดยการประชาสัมพันธ์แหล่งผลิต เปิดพรีออเดอร์ Line official account ‘DPAE Orchid’ ที่เป็นแปลงใหญ่ 11 แปลงได้แก่ นครปฐม 6 แปลง สมุทรสาคร 3 แปลง นนทบุรี 1 แปลง กรุงเทพ 1 แปลง ช่วยให้สามารถจำหน่ายได้ราคาดีกว่าที่สวนจาก 30-70 สตางค์ เป็นช่อละ 2.50 บาท นอกจากนี้กระทรวงเกษตร สั่งการเร่งขยายการขยายกล้วยไม้ในประเทศ ชวนทุกฝ่ายสมาคม โรงแรม อีเว้นท์หนุนกล้วยไม้ไทยในการจัดงาน และมอบเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ รุกกระจายผลผลิตผ่านสหกรณ์ เพิ่มช่องทางตลาดออนไลน์ ด้านการช่วยเหลือด้านการเงิน กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และ ธกส ให้การสนับสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
ตอนทำงานที่แบงก์กรุงไทย ได้ให้ความสำคัญกับการขยายสินเชื่อกล้วยไม้ โดยเฉพาะในพื้นทีภาคกลาง คือ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตกล้วยไม้สำคัญของประเทศ เพราะเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยไม้ของไทย เป็นเกษตรกรที่มีทักษะในการผลิตและการพัฒนาพันธ์ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ถือเป็นเกษตรก้าวหน้า ความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการไทย ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก เมื่อประสบกับปัญหาโควิด 19 เครื่องบินหยุดบิน การส่งออกก็ทำไม่ได้ เพราะการส่งออกกล้วยไม้ต้องส่งออกด้วยเครื่องบินเป็นหลัก ขณะนี้การส่งออกต้องอาศัยการขนส่งด้วยเส้นทางบกระหว่งชายแดนไทยและชายแดนจีน ผ่านเส้นทาง R3A ช่วยประคับประคองการส่งออกได้บ้าง
การส่งเสริมด้วยการขยายกล้วยไม้ในประเทศก็ได้ผลน้อยเพราะธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน การระบาดของโควิดรอบนี้ แหล่งระบาดหลัก ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงอยู่ในจังหวัดที่เป็นแหลงผลิตกล้วยไม้ที่สำคัญทั้งสิ้น ผมมีโอกาสได้แวะไปเยี่ยมเกษตรกรผู้เพาะปลูกกล้วยไม้หลายราย บ่นให้ฟังว่า มาตรการทางด้านการเงินที่เสนอไปยังสถาบันการเงินเพื่อขอความช่วยเหลือก็ยังไม่มีความคืบหน้า ถ้าอีก 6 เดือน ยังไม่ดีขึ้นคำว่ากล้วยไม้ใกล้ม้วย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นม้วยแล้ว
หรืออาจจะต้องมีมาตรการโกดังเก็บรักษาหนี้ เหมือนมาตรการช่วยเหลือธุรกิจโรงแรมที่ผมนำเสนอไปแล้ว ต้องรีบให้ความช่วยเหลือแล้วครับ……
ดูบทความทั้งหมดของ เวทย์ นุชเจริญ